กัน ก่อน แก้ แผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียง
หากพูดถึงแผลกดทับนั้นมักพบได้ในผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวร่างกายหรือมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย จึงทำให้เกิดแผลจากการถูกกดทับและแรงเฉือนจากการนอนหรือนั่งเป็นเวลานาน วันนี้ทีมสหวิชาชีพของเราจะมาให้ความรู้เรื่องแผลกดทับกันค่ะ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ธนบุรี เฮลท์ วิลเลจ ประชาอุทิศ มีทีมสหวิชาชีพที่ออกแบบโปรแกรมการดูแลเฉพาะบุคคลที่มีความใส่ใจดูแลคนที่คุณรัก ให้มีสุขภาพดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ อย่างครบถ้วน
อาการของแผลกดทับสามารถแบ่งได้ 4 ระดับ
ระดับที่ 1 : บริเวณผิวหนังมีรอยแดง หากผู้ที่มีผิวเข้มอาจมีรอยเขียวอมม่วง อาจรู้สึกเจ็บแสบและระคายเคืองบริเวณแผล หากใช้นิ้วมือกดบริเวณที่มีรอยแดงจะไม่หายไป
ระดับที่ 2 : บริเวณแผลเป็นสีแดง อาจมีการสูญเสียชั้นผิวหนังแท้บางส่วนทำให้เป็นแผลเปิดหรือพบตุ่มน้ำพอง
ระดับที่ 3 : พื้นผิวแผลบางส่วนมีเนื้อตาย เนื้อเยื่อใต้ชั้นผิวหนังถูกทำลาย จึงทำให้เป็นแผลโพรงลึกและหลุมแผลเกิดขึ้น
ระดับที่ 4 : สูญเสียผิวหนังทุกชั้นและผิวหนังถูกทำลายมากที่สุด รวมไปถึงกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและข้อต่อที่ถูกทำลาย เป็นระดับที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อสูง
❤️แผลกดทับสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น การติดเชื้อที่กระดูกและข้อต่อ , การติดเชื้อในกระแสเลือด , เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ และมะเร็ง โดยผู้ป่วยแผลกดทับที่มีภาวะติดเชื้อ จะมีอาการหนาวสั่นและเป็นไข้ เนื่องจากเชื้อจะแพร่ไปทั่วร่างกายและส่งผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น
สาเหตุของอาการแผลกดทับแบ่งได้ออกเป็น 4 สาเหตุหลัก
แรงกดทับ : ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายถูกกดทับเป็นเวลานาน ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไม่เพียงพอ
การเสียดสี : เกิดขึ้นบริเวณที่ผิวหนังเสียดสีกับเสื้อผ้าหรือผ้าปูที่นอน
แรงเฉือน : มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่นอนไถลตัวลงมาในขณะที่เตียงปรับระดับสูง ทำให้ชั้นผิวหนังถูกดึงรั้งกันไว้
ความชื้น : ความชื้นจากการเป็นไข้ เหงื่อหรือปัสสาวะ ส่งผลทำให้ผิวหนังมีความชื้นเพิ่มมากขึ้น หากผิวหนังมีความชื้น ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นแผลกดทับได้
แผลกดทับมีโอกาสที่จะกลายเป็นแผลกดทับบริเวณกล้ามเนื้อและกระดูก โดยการรักษาแผลกดทับขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ การขาดการเคลื่อนไหว , ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน , โรคเกี่ยวกับเส้นเลือด , สภาพร่างกายของผู้ป่วยและความรุนแรงของแผลกดทับ ซึ่งในบางกรณีอาจใช้ระยะเวลาในการรักษาเป็นเวลานานเพื่อให้แผลกดทับหายอย่างสมบูรณ์
ข้อคำแนะนำและการป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดแผลกดทับ
จัดท่านอนให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุพลิกตัวอย่างน้อยทุก ๆ 2 ชั่วโมงโดยหมั่นพลิกตะแคงตัว
ทำความสะอาดผิวหนังและเช็ดให้แห้งอยู่เสมอ
ดูแลที่นอนให้สะอาดและมีอากาศถ่ายเทอยู่เสมอ เพื่อลดความอับชื้น
ขยับร่างกายให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุเป็นประจำ โดยเฉพาะแขน ขา และข้อต่อต่าง ๆ ดูแลเรื่องโภชนาการให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนอยู่เสมอ
“ดูแลคุณเช่นคนพิเศษ ด้วยมาตรฐานระดับโรงพยาบาล”
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ธนบุรี เฮลท์ วิลเลจ ประชาอุทิศ 60/2 ในเครือโรงพยาบาลธนบุรี
Youtube : https://youtu.be/R18nIeWotcg
Facebook : m.me/ThonburiHealthVillage
Line : @THV-Prachauthit
โทร 087-514-1999