อัลไซเมอร์ ภัยเงียบที่ไม่ควรละเลยในผู้สูงอายุ
โรคอัลไซเมอร์เป็นอีกสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุดในกลุ่มผู้สูงอายุ มักพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยเกิดจากเซลล์ในสมองไม่ทำงานหรือเซลล์สมองตาย ทำให้สมองส่วนที่เหลือไม่สามารถทำงานได้เต็มที่จนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
อาการของโรคอัลไซเมอร์จะแสดงอาการตามระยะเสื่อมของสมอง
โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ
ระยะแรก ผู้ป่วยมักมีอาการหลงลืม ชอบถามซ้ำหรือพูดซ้ำ ๆ ในเรื่องเดิม มีความจำถดถอยจนตัวเองรู้สึกได้ แต่ยังไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
ระยะกลาง ผู้ป่วยมีความจำถดถอยที่มากขึ้นไปอีก มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น จากเป็นคนใจเย็นก็เปลี่ยนกลายเป็นคนที่มีอารมณ์ฉุนเฉียว โมโหง่าย หรือการออกไปด้านนอกโดยไม่มีจุดหมาย
ระยะสุดท้าย ผู้ป่วยสุขภาพจะทรุดโทรมลง รับประทานได้น้อย เคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงหรือไม่เคลื่อนไหวเลย และมีอาการประสาทร่วมด้วยจึงนำไปสู่การสูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันไป ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ คล้ายกับผู้ป่วยติดเตียง อีกทั้งผู้ป่วยยังสามารถเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนได้อีกด้วย
สัญญาณเตือน ที่บอกว่าคุณกำลังเสี่ยงเป็น “ โรคอัลไซเมอร์ ”
– ไม่สามารถจดจำหรือเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้
– ถามซ้ำ ๆ พูดซ้ำ ๆ ในเรื่องเดิม หลงลืมเหตุการณ์ที่พึ่งผ่านเข้ามาหรือเหตุการณ์สำคัญ
– ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำมาก่อนหรือเริ่มมีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ชงกาแฟไม่ได้ ใช้โทรศัพท์ไม่ได้ หรือแม้กระทั่งการขับรถ
– รู้สึกสับสนและเข้าใจลำบากมากขึ้น เช่น ออกจากที่พักโดยไม่มีจุดหมาย ลืมว่าอยู่ที่ไหน จำสถานที่ไม่ได้ จำไม่ได้ว่าเดินทางมาที่นี่ได้อย่างไร รวมไปถึงไม่สามารถแยกแยะรสชาติหรือกลิ่นได้
– ความสามารถในการตัดสินใจลดลง ไม่กล้าตัดสินใจหรือตัดสินใจผิดพลาดบ่อยครั้ง
– บุคลิกภาพ ความรู้สึก และอารมณ์เปลี่ยนไป เช่น การโมโหด้วยไม่มีสาเหตุ สับสน วิตกกังวล
หากพบสัญญาณเตือนดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อทำการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อที่จะสามารถวางแผนอนาคตให้กับตัวเองได้ ในปัจจุบันโรคอัลไซเมอร์ยังเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้จึงเน้นไปที่การรักษาอาการต่าง ๆ และควบคุมไม่ให้อาการของโรคนั้นรุนแรงมากขึ้น
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ธนบุรี เฮลท์ วิลเลจ ประชาอุทิศ มีทีมสหวิชาชีพที่ออกแบบโปรแกรมการดูแลเฉพาะบุคคลที่มีความใส่ใจดูแลคนที่คุณรัก ให้มีสุขภาพดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ อย่างครบถ้วน
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์
– ปัจจัยทางพันธุกรรม
– ปัจจัยทางด้านอายุ เมื่ออายุมากขึ้นความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น
– ปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ในภายหลัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน เป็นต้น
วิธีการป้องกันและชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์
– หมั่นบริหารสมองและทำกิจกรรมการกระตุ้นความคิดอยู่เสมอ เช่น คิดเลข การอ่านหรือเขียนหนังสือเป็นประจำ
– ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
– รับประทานอาหารทที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและสมอง
– หลีกเหลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือรับประทานยาโดยไม่จำเป็น
– ดูแลสุขภาพจิตให้ดี ควรหลีกเหลี่ยงสิ่งต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความเครียด
– ตรวจสุขภาพประจำปี
“ดูแลคุณเช่นคนพิเศษ ด้วยมาตรฐานระดับโรงพยาบาล”
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ธนบุรี เฮลท์ วิลเลจ ประชาอุทิศ 60/2 ในเครือโรงพยาบาลธนบุรี
Youtube : https://youtu.be/R18nIeWotcg
Facebook : m.me/ThonburiHealthVillage
Line : @THV-Prachauthit
โทร 087-514-1999