
ผู้สูงอายุไม่รับประทานอาหาร
อาการน้ำหนักลดในผู้สูงอายุ ส่วนหนึ่งที่สำคัญนั้นมักเกิดจากผู้สูงอายุไม่รับประทานอาหาร ซึ่งถ้าปล่อยไว้อาจเป็นปัญหาลุกลามเรื้อรังได้ และถ้ามีอาการต่างๆ ในระบบทางเดินอาหารเพิ่มเติมมาด้วย เช่นท้องอืด, ท้องเฟ้อ, ท้องผูก, แน่นท้องคลื่นไส้ จนเครียดนอนไม่หลับ ก็จะยิ่งทำให้ผู้สูงอายุมีอาการหนักขึ้นจนถึงขั้นอยากทำร้ายตัวเองได้
สาเหตุที่พบบ่อยคือ
- เกิดจากต่อมรับรู้รสมีปัญหาจนรู้สึกว่าอาหารไม่อร่อย
- เกิดปัญหาทางประสาทสัมผัสการรับรู้ เช่น หู, ตา, จมูก และมีการเคลื่อนไหวน้อยยิ่งกระตุ้นให้เบื่ออาหาร
- ความสามารถในการย่อยน้อยลง ทำให้เกิดอาหารจุกแน่น เฟ้อ จนไม่อยากอาหาร
- มีปัญหาจากช่องปาก กินอะไรก็เจ็บหรือทรมาน
- อาการป่วยประเภทหวัด, ไอ, จาม หรือโรคเนื้องอกในระบบทางเดินอาหาร
- เกิดจากยาที่ได้รับมาทานเป็นประจำ
- โรคประจำตัวที่เป็นอยู่ก่อน เช่น พาร์กินสัน, การทำเคมีบำบัด หรืออัลไซเมอร์
- ปัญหาทางจิตใจจนเกิดภาวะตึงเครียด กินไม่ได้นอนไม่หลับ
- อาหารเป็นพิษ
- อากาศร้อนหิวน้ำบ่อย
- หรือรับประทานแต่เมนูเดิมๆ เป็นต้น
วิธีการแก้ไขผู้สูงอายุไม่ทานอาหาร
- ควรให้ผู้สูงอายุหมั่นออกกำลังกายเบาๆ เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายมีความเหนื่อย และต้องการพลังงานจากอาหารมากขึ้น
- คิดเมนูอาหารใหม่ๆ เพื่อดูว่าอะไรถูกปาก และสร้างความอยากอาหารยิ่งขึ้น
- ควรแยกมื้ออาหารให้ถี่ขึ้นเพื่อชดเชยกับการรับประทานที่น้อยลง
- คนในครอบครัวควรใส่ใจและหมั่นรับประทานอาหารร่วมกันในครอบครัวให้บ่อย เพื่อให้ท่านไม่เหงาและมีกำลังใจดูแลตัวเองมากขึ้น
นอกจากนี้ ควรหมั่นพาผู้สูงอายุในบ้านไปตรวจสุขภาพกายและสุขภาพภายในช่องปากเป็นประจำ ให้ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6 – 8 แก้ว นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ตลอดจนนำยาที่รับประทานเป็นประจำให้แพทย์ดูถึงสาเหตุ และที่สำคัญลูกหลานควรหมั่นใส่ใจคอยถามไถ่พูดคุยสารทุกสุกดิบกันเป็นประจำ เพื่อให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองยังมีคุณค่าและสำคัญต่อคนรอบข้าง