กัน ก่อน แก้ แผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียง

🚨 กัน ก่อน แก้ แผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียง 🛌✨

หากพูดถึงแผลกดทับนั้นมักพบได้ในผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวร่างกายหรือมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย จึงทำให้เกิดแผลจากการถูกกดทับและแรงเฉือนจากการนอนหรือนั่งเป็นเวลานาน วันนี้ทีมสหวิชาชีพของเราจะมาให้ความรู้เรื่องแผลกดทับกันค่ะ

🏥 ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ธนบุรี เฮลท์ วิลเลจ ประชาอุทิศ มีทีมสหวิชาชีพที่ออกแบบโปรแกรมการดูแลเฉพาะบุคคลที่มีความใส่ใจดูแลคนที่คุณรัก ให้มีสุขภาพดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ อย่างครบถ้วน

➡️ อาการของแผลกดทับสามารถแบ่งได้ 4 ระดับ

💡 ระดับที่ 1 : บริเวณผิวหนังมีรอยแดง หากผู้ที่มีผิวเข้มอาจมีรอยเขียวอมม่วง อาจรู้สึกเจ็บแสบและระคายเคืองบริเวณแผล หากใช้นิ้วมือกดบริเวณที่มีรอยแดงจะไม่หายไป

💡 ระดับที่ 2 : บริเวณแผลเป็นสีแดง อาจมีการสูญเสียชั้นผิวหนังแท้บางส่วนทำให้เป็นแผลเปิดหรือพบตุ่มน้ำพอง

💡 ระดับที่ 3 : พื้นผิวแผลบางส่วนมีเนื้อตาย เนื้อเยื่อใต้ชั้นผิวหนังถูกทำลาย จึงทำให้เป็นแผลโพรงลึกและหลุมแผลเกิดขึ้น

💡 ระดับที่ 4 : สูญเสียผิวหนังทุกชั้นและผิวหนังถูกทำลายมากที่สุด รวมไปถึงกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและข้อต่อที่ถูกทำลาย เป็นระดับที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อสูง

❤️‍🩹แผลกดทับสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น การติดเชื้อที่กระดูกและข้อต่อ , การติดเชื้อในกระแสเลือด , เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ และมะเร็ง โดยผู้ป่วยแผลกดทับที่มีภาวะติดเชื้อ จะมีอาการหนาวสั่นและเป็นไข้ เนื่องจากเชื้อจะแพร่ไปทั่วร่างกายและส่งผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น

🌟 สาเหตุของอาการแผลกดทับแบ่งได้ออกเป็น 4 สาเหตุหลัก 🌟

🛋 แรงกดทับ : ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายถูกกดทับเป็นเวลานาน ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไม่เพียงพอ

👕 การเสียดสี : เกิดขึ้นบริเวณที่ผิวหนังเสียดสีกับเสื้อผ้าหรือผ้าปูที่นอน

🛌 แรงเฉือน : มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่นอนไถลตัวลงมาในขณะที่เตียงปรับระดับสูง ทำให้ชั้นผิวหนังถูกดึงรั้งกันไว้

💧ความชื้น : ความชื้นจากการเป็นไข้ เหงื่อหรือปัสสาวะ ส่งผลทำให้ผิวหนังมีความชื้นเพิ่มมากขึ้น หากผิวหนังมีความชื้น ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นแผลกดทับได้

❤️‍🩹 แผลกดทับมีโอกาสที่จะกลายเป็นแผลกดทับบริเวณกล้ามเนื้อและกระดูก โดยการรักษาแผลกดทับขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ การขาดการเคลื่อนไหว , ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน , โรคเกี่ยวกับเส้นเลือด , สภาพร่างกายของผู้ป่วยและความรุนแรงของแผลกดทับ ซึ่งในบางกรณีอาจใช้ระยะเวลาในการรักษาเป็นเวลานานเพื่อให้แผลกดทับหายอย่างสมบูรณ์

🩺 ข้อคำแนะนำและการป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดแผลกดทับ ✨

จัดท่านอนให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุพลิกตัวอย่างน้อยทุก ๆ 2 ชั่วโมงโดยหมั่นพลิกตะแคงตัว

ทำความสะอาดผิวหนังและเช็ดให้แห้งอยู่เสมอ

ดูแลที่นอนให้สะอาดและมีอากาศถ่ายเทอยู่เสมอ เพื่อลดความอับชื้น

ขยับร่างกายให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุเป็นประจำ โดยเฉพาะแขน ขา และข้อต่อต่าง ๆ ดูแลเรื่องโภชนาการให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนอยู่เสมอ

“ดูแลคุณเช่นคนพิเศษ ด้วยมาตรฐานระดับโรงพยาบาล”

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ธนบุรี เฮลท์ วิลเลจ ประชาอุทิศ 60/2 ในเครือโรงพยาบาลธนบุรี

Youtube : https://youtu.be/R18nIeWotcg

Facebook : m.me/ThonburiHealthVillage

Line : @THV-Prachauthit

คลิก https://lin.ee/5FmM3oc

โทร 087-514-1999

www.ThonburiHealthVillage.com

#ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ

#ศูนย์ผู้สูงอายุ

#ผู้ป่วยติดเตียง

#ผู้ป่วยพักฟื้น

#ผู้สูงอายุ

#nursingcare

#bedridden

#ThonburiHealthVillage

#THV

#ThonburiHealthcareGroup

#THG

Comments are closed.

By clicking Accept All Cookies, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Cookies

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Accept All Cookies
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า