1:4 Caregivers
1:4 Caregivers
Doctor’s Visit
Food Preparation
and Nutrition
Rehabilitation
Activities
Room type
ในบ้านที่มีผู้สูงอายุ “ไม้เท้า” ถือเป็นสิ่งจำเป็นมาก เพราะจะช่วยให้ท่านยังสามารถ
ป้องกันโรคอ้วนผู้สูงอายุ ปัญหาโรคอ้วนถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคนหลายๆ วัย โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุ ที่มีความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย รวมถึงระบบการเผาผลาญที่ต่ำลง โดยผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักไม่ค่อยใส่ใจหรือคำนึงถึงรูปร่างของตนเอง มักปล่อยปละละเลย และมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารในแบบที่เคยชิน ตลอดจนไม่รู้จักการดูแลโภชนาการให้ตัวเอง รวมถึงการไม่ออกกำลังกาย จึงทำให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักเผชิญกับปัญหาโรคอ้วน ส่งผลกระทบให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา ผู้สูงอายุที่จัดว่าอยู่ในภาวะโรคอ้วน สามารถดูได้จากรอบเอวที่มากเกินไป ความดันโลหิตมากกว่า 130/85 มิลลิเมตรปรอท ระดับไตรกลีเซอไรด์มากกว่า 150 มิลลิกรัม % ถึงขั้นต้องกินยาลดไขมันระดับ HDL (ไขมันตัวดี) มากกว่า 40 และ 50 มิลลิกรัม % ระดับน้ำตาลสูงกว่า 100 มิลลิกรัม % (หรือระดับเสี่ยงเป็นเบาหวาน) โดยเฉพาะคนที่เสี่ยงเป็นเบาหวานร่างกายดื้อต่ออินซูลิน การเผาผลาญต่ำลงมาก และกลุ่มผู้สูงอายุที่ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งโรคอ้วนจะเป็นต้นเหตุของโรคเรื้อรังต่างๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น โรคเบาหวาน, โรคไต, ความดันโลหิตสูง, ไขข้ออักเสบ, ข้อเข่าเสื่อม, ไขมันพอกตับ, เกาต์, กระดูกพรุน, ปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะ ฯลฯ 4 วิธีป้องกันโรคอ้วนในผู้สูงอายุ ควรรับประทานอาหารในปริมาณน้อยลง โดยเน้นอาหารเพื่อสุขภาพ ได้แก่ เนื้อปลา, ไข่ต้ม, เต้าหู้, นมสดพร่องมันเนย, ผักต้ม, มะละกอสุก, ส้ม, กล้วยสุก เป็นต้น หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที โดยควรให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายแบบเบาๆ เช่น เดิน, โยนเปตอง, แกว่งแขน เป็นต้น ควรให้ผู้สูงอายุลดน้ำหนัก พยายามอย่าให้น้ำหนักสูงเกินกว่าเกณฑ์ส่วนสูงของผู้สูงอายุ ควรลดการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะนอกจากแอลกอฮอล์จะเข้าไปกระตุ้นระบบสมอง และระบบการทำงานต่างๆ ภายในร่างกายแล้ว ยังส่งผลถึงโรคอ้วน ความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และอาหารที่มีปริมาณแป้งและน้ำตาลสูงจำพวกอาหารจังก์ฟู้ด หรืออาหารทอดๆ ไขมันสูงทั้งหลาย การดูแลและป้องกันที่ดีที่สุดคือ หมั่นให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จัดโภชนาการอาหารให้ถูกต้อง มีปริมาณที่พอเหมาะเท่ากับที่ร่างกายต้องการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทาน พฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อลดน้ำหนัก ตลอดจนนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ …
ผู้สูงอายุไม่รับประทานอาหาร อาการน้ำหนักลดในผู้สูงอายุ ส่วนหนึ่งที่สำคัญนั้นมักเกิดจากผู้สูงอายุไม่รับประทานอาหาร ซึ่งถ้าปล่อยไว้อาจเป็นปัญหาลุกลามเรื้อรังได้ และถ้ามีอาการต่างๆ ในระบบทางเดินอาหารเพิ่มเติมมาด้วย เช่นท้องอืด, ท้องเฟ้อ, ท้องผูก, แน่นท้องคลื่นไส้ จนเครียดนอนไม่หลับ ก็จะยิ่งทำให้ผู้สูงอายุมีอาการหนักขึ้นจนถึงขั้นอยากทำร้ายตัวเองได้ สาเหตุที่พบบ่อยคือ เกิดจากต่อมรับรู้รสมีปัญหาจนรู้สึกว่าอาหารไม่อร่อย เกิดปัญหาทางประสาทสัมผัสการรับรู้ เช่น หู, ตา, จมูก และมีการเคลื่อนไหวน้อยยิ่งกระตุ้นให้เบื่ออาหาร ความสามารถในการย่อยน้อยลง ทำให้เกิดอาหารจุกแน่น เฟ้อ จนไม่อยากอาหาร มีปัญหาจากช่องปาก กินอะไรก็เจ็บหรือทรมาน อาการป่วยประเภทหวัด, ไอ, จาม หรือโรคเนื้องอกในระบบทางเดินอาหาร เกิดจากยาที่ได้รับมาทานเป็นประจำ โรคประจำตัวที่เป็นอยู่ก่อน เช่น พาร์กินสัน, การทำเคมีบำบัด หรืออัลไซเมอร์ ปัญหาทางจิตใจจนเกิดภาวะตึงเครียด กินไม่ได้นอนไม่หลับ อาหารเป็นพิษ อากาศร้อนหิวน้ำบ่อย หรือรับประทานแต่เมนูเดิมๆ เป็นต้น วิธีการแก้ไขผู้สูงอายุไม่ทานอาหาร ควรให้ผู้สูงอายุหมั่นออกกำลังกายเบาๆ เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายมีความเหนื่อย และต้องการพลังงานจากอาหารมากขึ้น คิดเมนูอาหารใหม่ๆ เพื่อดูว่าอะไรถูกปาก และสร้างความอยากอาหารยิ่งขึ้น ควรแยกมื้ออาหารให้ถี่ขึ้นเพื่อชดเชยกับการรับประทานที่น้อยลง คนในครอบครัวควรใส่ใจและหมั่นรับประทานอาหารร่วมกันในครอบครัวให้บ่อย เพื่อให้ท่านไม่เหงาและมีกำลังใจดูแลตัวเองมากขึ้น นอกจากนี้ ควรหมั่นพาผู้สูงอายุในบ้านไปตรวจสุขภาพกายและสุขภาพภายในช่องปากเป็นประจำ ให้ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6 - 8 แก้ว นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ตลอดจนนำยาที่รับประทานเป็นประจำให้แพทย์ดูถึงสาเหตุ และที่สำคัญลูกหลานควรหมั่นใส่ใจคอยถามไถ่พูดคุยสารทุกสุกดิบกันเป็นประจำ เพื่อให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองยังมีคุณค่าและสำคัญต่อคนรอบข้าง
วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ ในปัจจุบันสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศในบ้านเราก็จะมีทั้งฝุ่นควันที่มากขึ้นทุกวัน รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของอากาศ ส่งผลกระทบต่อร่างกายของมนุษย์เราได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะคนในวัยสูงอายุ ที่ร่างกายมักอ่อนแอ ภูมิต้านทานลดลง ทำให้เกิดโรคต่างๆ ขึ้นได้ง่าย วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุจึงกลายมาเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ควรฉีดปีละครั้ง โรคไข้หวัดใหญ่ถือเป็นโรคฮิตอันดับต้นของผู้สูงอายุ เป็นง่าย แต่ส่งผลต่อร่างกายหนัก เช่น เจ็บคอ, ไอ, หลอดลมอักเสบติดเชื้อแบคทีเรีย, โรคแทรกซ้อนเยอะอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ วัคซีนโรคปอดอักเสบ หรือปอดบวมชนิด 13 สายพันธุ์ 1 เข็ม ตามด้วยชนิด 23 สายพันธุ์ 1 เข็ม ห่างกัน 1 ปี โรคปอดบวมถือเป็นโรคที่น่ากลัวและเกิดขึ้นง่าย เป็นสาเหตุให้ติดเชื้อในกระแสเลือด และเยื่อหุ้มสมองอักเสบถึงขั้นเสียชีวิตได้ วัคซีนงูสวัด 1 เข็มครั้งเดียว โรคงูสวัดเกิดจากไวรัสชนิดเดียวกับอีสุกอีใส ทำให้มีตุ่มใสตามแนวเส้นประสาท อาจถึงขั้นปวดแสบปวดร้อนจากอาการได้ วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก-คอตีบ-ไอกรน แบ่งฉีดเป็น โรคบาดทะยัก-คอตีบ-ไอกรน 1 เข็ม และวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก-คอตีบ ทุก 10 ปี ในผู้สูงอายุการเกิดโรคบาดทะยักได้เป็นง่าย เพราะภูมิต้านทานของร่างกายมีต่ำกว่าวัยหนุ่มสาว หากติดเชื้อบาดทะยักจากบาดแผลที่โดนสิ่งสกปรกจะแสดงอาการโรคที่หนัก กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง หายใจลำบากคอตีบรุนแรงจนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ เหล่านี้ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่เราควรหมั่นพาผู้สูงอายุในบ้านไปรับการฉีดวัคซีน เพื่อเป็นการป้องกันภาวะโรคต่างๆ หรือความรุนแรงของโรคที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนลดอัตราการเสียชีวิต ซึ่งผู้สูงอายุถือเป็นวัยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลมากเป็นพิเศษจากคนในครอบครัว
087-514-1999
@THV-PrachaUthit
info@ThonburiHealthVillage.com
84 Prachauthit 60/1 Thung Khru
Thung Khru Bangkok 10140
By clicking Accept All Cookies, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Cookies